พระอัศวิน (อังกฤษ Ashvins, สันสกฤต अश्विन) เป็นเทพเจ้าตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดู พระอัศวินเป็นเทพเจ้าฝาแฝดที่มีศีรษะเป็นม้า และมีร่างกายเป็นมนุษย์ องค์หนึ่งมีพระนามว่า นาสัตยอัศวิน (ความกรุณา) อีกองค์หนึ่งมีพระนามว่า ทัศรอัศวิน (ความรู้แจ้ง) เทียบได้กับเทพเจ้าตามเทพปกรณัมกรีก เช่น โฟบอส และ ดีมอส, ฮิปนอส และ ทานาทอส, แคสเตอร์ และ พอลลักซ์ เป็นต้น พระอัศวินเป็นพระโอรสของพระอาทิตย์ กับนางสัญญา นางสัญญาต้องการจะหนีพระอาทิตย์ไปบวชอยู่ในป่า จึงแปลงร่างเป็นม้าเพศเมีย แต่พระอาทิตย์ก็ยังแปลงร่างเป็นม้าเพศผู้ไปอยู่ด้วยจนเกิดเป็นพระอัศวินขึ้นมา พระอัศวิน เป็นเทพที่ประทานนำทรัพย์ต่าง ๆ มาให้มนุษย์ และยังปกป้องมนุษย์จากภัยอันตรายต่าง ๆ จนถึงโรคภัยไข้เจ็บ เพราะพระอัศวินยังมีหน้าที่เป็นแพทย์สวรรค์ด้วย พระอัศวิน ยังเป็นเทพแห่งแสงสว่าง ทั้งคู่จะขับรถม้านำหน้าราชรถของพระอาทิตย์มาก่อนเวลารุ่งสาง พระอัศวินได้ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมากในคัมภีร์ฤคเวท ซึ่งในคัมภีร์นั้นมีการกล่าวถึงพระนามของพระอัศวินถึง 400 ครั้งคำว่า สํสฺกฺฤต (संस्कृत) แปลว่า กลั่นกรองแล้ว ส่วนคำว่า สํสฺกฺฤตา วากฺ (संस्कृता वाक्) จะใช้เพื่อเรียก ภาษาที่กลั่นกรองแล้ว ซึ่งเป็นภาษาของชนชั้นพราหมณ์ ตรงข้ามกับภาษาพูดของชาวบ้านทั่วไปที่เรียกว่าปรากฤต ภาษาสันสกฤตมีพัฒนาการในหลายยุคสมัย โดยมีหลักฐานเก่าแก่ที่สุด คือภาษาที่ปรากฏในคัมภีร์ฤคเวท (เมื่อราว 1,200 ปีก่อนคริสตกาล) อันเป็นบทสวดสรรเสริญพระเจ้าในลัทธิพราหมณ์ในยุคต้น ๆ อย่างไรก็ตาม ในการจำแนกภาษาสันสกฤตโดยละเอียด นักวิชาการอาจถือว่าภาษาในคัมภีร์ฤคเวทเป็นภาษาหนึ่งที่ต่างจากภาษาสันสกฤตแบบแผน (Classical language) และเรียกว่า ภาษาพระเวท (Vedic language) ภาษาพระเวทดั้งเดิมยังมิได้มีการวางกฎเกณฑ์ให้เป็นระเบียบรัดกุมและสละสลวย และมีหลักทางไวยากรณ์อย่างกว้าง ๆ ปรากฏอยู่ในบทสวดในคัมภีร์พระเวทของศาสนาฮินดู เนื้อหาคือบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า เอกลักษณ์ที่ปรากฏอยู่เฉพาะในภาษาพระเวทคือระดับเสียง (Accent) ซึ่งกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด และถือเป็นสิ่งสำคัญของการสวดพระเวทเพื่อให้สัมฤทธิผล
ภาษาสันสกฤตมีวิวัฒนาการมาจากภาษาชนเผ่าอารยัน หรืออินโดยูโรเปียน (Indo-European) บรรพบุรุษของพวกอินโด-อารยัน ตั้งรกรากอยู่เหนือเอเซียตะวันออก (ตอนกลางของทวีปเอเชีย – Central Asia) โดยไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง กลุ่มอารยันต้องเร่ร่อนทำมาหากินเหมือนกันชนเผ่าอื่น ๆ ในจุดนี้เองที่ทำให้เกิดการแยกย้ายถิ่นฐาน การเกิดประเพณี และภาษาที่แตกต่างกันออกไป ชนเผ่าอารยันได้แยกตัวกันออกไปเป็น 3 กลุ่มใหญ่ กลุ่มที่ 1 แยกไปทางตะวันตกเข้าสู่ทวีปยุโรป กลุ่มที่ 2 ลงมาทางตะวันออกเฉียงใต้ อนุมานได้ว่าน่าจะเป็นชนชาติอิหร่านในเปอร์เซีย และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่สำคัญที่สุด กลุ่มนี้แยกลงมาทางใต้ตามลุ่มแม่น้ำสินธุ (Indus) ชาวอารยันกลุ่มนี้เมื่อรุกเข้าในแถบลุ่มแม่น้ำสินธุแล้ว ก็ได้ไปพบกับชนพื้นเมืองที่เรียกว่า ดราวิเดียน (Dravidian) และเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมและภาษา โดยชนเผ่าอารยันได้นำภาษาพระเวทยุคโบราณเข้าสู่อินเดียพร้อม ๆ กับความเชื่อทางศาสนา ซึ่งในยุคต่อมาได้เกิดตำราไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตคือ อษฺฏาธฺยายี (अष्टाध्यायी ไวยากรณ์ 8 บท) ของปาณินิ เชื่อกันว่ารจนาขึ้นในช่วงพุทธกาล ปาณินิเห็นว่าภาษาสันสกฤตแบบพระเวทนั้นมีภาษาถิ่นปนเข้ามามากพอสมควรแล้ว หากไม่เขียนไวยากรณ์ที่เป็นระเบียบแบบแผนไว้ ภาษาสันสกฤตแบบพระเวทที่เคยใช้มาตั้งแต่ยุคพระเวทจะคละกับภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ ทำให้การประกอบพิธีกรรมไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้น จึงแต่งอัษฏาธยายีขึ้น ความจริงตำราแบบแผนไวยากรณ์ก่อนหน้าปาณินิได้มีอยู่ก่อนแล้ว แต่เมื่อเกิดอัษฏาธยายีตำราเหล่านั้นก็ได้หมดความนิยมลงและสูญไปในที่สุด ผลของไวยากรณ์ปาณินิก็คือภาษาเกิดการจำกัดกรอบมากเกินไป ทำให้ภาษาไม่พัฒนา ในที่สุด ภาษาสันสกฤตแบบปาณินิ หรือภาษาสันสกฤตแบบฉบับ จึงกลายเป็นภาษาเขียนในวรรณกรรม ซึ่งผู้ที่สามารถจะอ่าน เขียนและแปลได้จะต้องใช้เวลามากพอสมควร ภาษาสันสกฤตแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มกว้าง ๆ ได้แก่ ภาษาสันสกฤตแบบแผน และภาษาสันสกฤตผสม
ภาษาสันสกฤตแบบแผน Phrase sanskrit.svg เกิดขึ้นจากการวางกฎเกณฑ์ของภาษาสันสกฤตให้มีแบบแผนที่แน่นอนในสมัยต่อมา โดยนักปราชญ์ชื่อ ปาณินิตามประวัติเล่าว่าเป็นผู้เกิดในตระกูลพราหมณ์ แคว้นคันธาระราว 57 ปีก่อนพุทธปรินิพพาน บางกระแสว่าเกิดราว พ.ศ. 143 ปาณินิได้ศึกษาภาษาในคัมภีร์พระเวทจนสามารถหาหลักเกณฑ์ของภาษานั้นได้ จึงจัดรวบรวมขึ้นเป็นหมวดหมู่ เรียบเรียงเป็นตำราไวยากรณ์ขึ้น 8 บทให้ชื่อว่า อัษฏาธยายี มีสูตรเป็นกฎเกณฑ์อธิบายโครงสร้างของคำอย่างชัดเจน นักวิชาการสมัยใหม่มีความเห็นว่า วิธีการศึกษาและอธิบายภาษาของปาณินิเป็นวิธีวรรณนา คือศึกษาและอธิบายตามที่ได้สังเกตเห็นจริง มิได้เรียบเรียงขึ้นตามความเชื่อส่วนตัว มิได้เรียบเรียงขึ้นตามหลักปรัชญา คัมภีร์อัษฏาธยายีจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นตำราไวยากรณ์เล่มแรกที่ศึกษาภาษาในแนววิทยาศาสตร์และวิเคราะห์ภาษาได้สมบูรณ์ที่สุด[ต้องการอ้างอิง] ความสมบูรณ์ของตำราเล่มนี้ทำให้เกิดความเชื่อในหมู่พราหมณ์ว่า ตำราไวยากรณ์สันสกฤตหรือปาณินิรจนานี้ สำเร็จได้ด้วยอำนาจพระศิวะ อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์เชื่อว่าการวางแบบแผนอย่างเคร่งครัดของปาณินิ ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาษาสันสกฤตต้องกลายเป็นภาษาตายอย่างรวดเร็วก่อนเวลาอันควร[ต้องการอ้างอิง] เพราะทำให้สันสกฤตกลายเป็นภาษาที่ถูกจำกัดขอบเขต (a fettered language) ด้วยกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ที่เคร่งครัดและสลับซับซ้อน ภาษาสันสกฤตที่ได้ร้บการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ให้ดีขึ้นโดยปาณินินี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เลากิกภาษา หมายถึงภาษาที่ใช้กับสิ่งที่เป็นไปในทางโลก ในมหากาพย์รามายณะ ทวิวิท และ แมนทะ ทหารวานร ของพระรามเป็นบุตรของพระอัศวินทั้งคู่ ในมหากาพย์มหาภารตะ นางมาทรี ชายาของท้าวปาณฑุได้ขอโอรสจากเทพเจ้าทั้งหลาย โดยที่พระนางมีลูกกับพระอัศวินสองคน คือ นกุล (เกิดจากพระนาสัตยอัศวิน) และ สหเทพ (เกิดจากพระทัศรอัศวิน)
ตัวละครหลักของมหากาพย์ อีเลียด จำนวนมากมีส่วนเชื่อมโยงสงครามเมืองทรอยเข้ากับตำนานปรัมปราอื่น ๆ เช่น ตำนานเจสันกับขนแกะทองคำ ตำนานกบฏเมืองธีบส์ และการผจญภัยของเฮราคลีส (เฮอร์คิวลีส) ตำนานปรัมปราของกรีกโบราณเหล่านี้มีเรื่องเล่ามาในหลากหลายรูปแบบ โฮเมอร์จึงค่อนข้างมีอิสระในการเลือกเอารูปแบบตามที่เขาต้องการเพื่อนำมาประกอบในมหากาพย์ รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดดูใน ตำนานกรีกโบราณ เรื่องราวในมหากาพย์ อีเลียด ครอบคลุมช่วงเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ในช่วงปีที่สิบและปีสุดท้ายของสงครามเมืองทรอย มิได้เล่าถึงความเป็นมาของการศึกและเหตุการณ์ในช่วงต้น (คือเรื่องที่ปารีสลักพานางเฮเลนมาจากกษัตริย์เมนนิเลอัส) และมิได้เอ่ยถึงเหตุการณ์ตอนสิ้นสุดสงคราม (คือการตายของอคิลลีส และการล่มสลายของเมืองทรอย) อย่างไรก็ดีมีบทกวีมหากาพย์เรื่องอื่นที่บรรยายความต่อจากนี้ แต่หลงเหลือรอดมาถึงปัจจุบันเพียงเล็กน้อย มีเนื้อความกระจัดกระจายเป็นส่วน ๆ ไม่ต่อเนื่อง รายละเอียดของสงครามทั้งหมด โปรดดูจากบทความเรื่อง
สงครามเมืองทรอย บทกวีเริ่มต้นขึ้นเมื่อชาวกรีกได้จับตัวนางไครเซอีส บุตรีของไครสิสนักบวชประจำวิหารของอพอลโลมาแล้ว และมอบนางให้เป็นรางวัลแก่อะกาเมมนอนกษัตริย์แห่งไมซีนี และผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพกรีก เทพอพอลโลจึงบันดาลให้เกิดโรคระบาดในกองทัพกรีก เพื่อบีบบังคับให้อะกาเมมนอนคืนตัวนางไครเซอีสให้แก่บิดาของนาง อะกาเมมนอนจึงไปบังคับเอาตัวนางไบรเซอีสจากอคิลลีสมาแทน นางไบรเซอีสเป็นทาสชาวเอเคียนที่มอบให้เป็นรางวัลแก่อคิลลีส นักรบผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุค อคิลลีสรู้สึกน้อยใจจึงถอนตัวออกจากการรบ ฝ่ายเมืองทรอยนั้นมีเจ้าชายเฮกเตอร์ โอรสของท้าวเพรียม เป็นแม่ทัพนำศึกป้องกันเมืองและปกป้องครอบครัวของตน เมื่ออคิลลีสไม่ยอมร่วมรบด้วย เฮกเตอร์จึงสามารถมีชัยชนะเหนือกองทัพกรีก นักรบกรีกที่เหลืออยู่ รวมถึงโอดิซูสและดิโอมีดีส ต่างได้รับบาดเจ็บ ด้วยเวลานั้นปวงเทพต่างเข้าข้างฝ่ายเมืองทรอย ปโตรกลัสจึงปลอมตัวเป็นอคิลลีสโดยนำเสื้อเกราะของเขามาสวม และนำทัพชาวเมอร์มิดอนกลับเข้าร่วมรบเพื่อช่วยป้องกันเรือของพวกกรีกไม่ให้ถูกเผาทำลาย ปโตรกลัสถูกเฮกเตอร์สังหารสิ้นชีพ อคิลลีสจึงกลับเข้าร่วมรบเพื่อแก้แค้นให้ปโตรกลัส เขาสังหารเฮกเตอร์ได้สำเร็จด้วยการประลองตัวต่อตัว แล้วเอาร่างของเฮกเตอร์กลับไปค่ายด้วย ท้าวเพรียมลอบเข้าค่ายทัพกรีก (ด้วยความช่วยเหลือของเทพเฮอร์มีส) เพื่อไถ่ร่างของบุตรชายคืน อคิลลีสเกิดความสงสารจึงคืนให้ บทกวีจบลงที่การพิธีศพของเฮกเตอร์